ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

ประวัติต้นกำเนิดของดอกเต้าฮวย


ประวัติต้นกำเนิดของเต้าฮวย

ประวัติ
ต้นกำเนิดของดอกเต้าฮวยมีหลากหลาย แต่ที่พบมากที่สุดสันนิษฐานว่าเต้าหู้มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่นเมื่อราว 2,100 ปีก่อนหลิวอัน (刘安)[1] เจ้าชายแห่งอานฮุย พระราชนัดดาในจักรพรรดิเกาจู่ (หลิวปัง) 


ผู้เป็นนักอักษรศาสตร์ ทั้งยังสนใจในวิชาเลี่ยนตัน (炼丹; "การเล่นแร่แปรธาตุ" หรือ "การปรุงยาอายุวัฒนะของลัทธิเต๋า") บดถั่วเหลืองเป็นผงแล้วนำไปต้มเป็นน้ำซุปถั่วเหลืองและพบว่าเมื่อเติมเกลือ (เกลือจืดหรือยิปซัม; 石膏) ลงไปปรุงยาอายุวัฒนะ น้ำถั่วเหลืองนั้นค่อย ๆ จับตัวข้นเป็นก้อนสีขาวนุ่มด้วยรสชาติที่อ่อนนุ่มจึงกลายเป็นอาหารว่างในสมัยราชวงศ์ฮั่น แล้วค่อย ๆ แพร่กระจายไปทั่วประเทศจีน

ในปี 1959 พบรูปแกะสลักหินแสดงภาพโรงทำเต้าหู้ในสุสานฮั่นในต๋าหู่ทิง (打虎亭) มณฑลเหอหนาน ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าการผลิตเต้าหู้มีต้นกำเนิดในราชวงศ์ฮั่น


ชนิด
สามารถแบ่งชนิดของเต้าฮวยออกเป็น 3 กลุ่มกว้าง ๆ ตามรสชาติ คือ หวาน (甜), เค็ม (咸) และเผ็ด (辣)


หวาน
เต้าฮวยแบบหวานใส่เครื่อง
ในภาคใต้ของจีน เต้าฮวยมักเป็นแบบรสหวาน เสิร์ฟพร้อมน้ำขิงรสหวาน น้ำเชื่อมจากน้ำตาลกรวด (น้ำเชื่อมใส) หรือน้ำเชื่อมจากน้ำตาลทรายแดง โดยในฤดูร้อนผู้คนกินเต้าฮวยแบบแช่เย็นเพื่อบรรเทาความร้อน 

ในฤดูหนาวมักเติมน้ำเชื่อมร้อนและถั่วลิสงหวาน ในฮ่องกงอาจใส่ซอสงาบดลงในเต้าฮวย ในหูเป่ย์ หูหนานและเจียงซีมักโรยหน้าด้วยน้ำตาลทรายขาวโดยตรง และไม่เพิ่มเครื่องปรุงรสอื่น ๆ วิธีการกินแบบนี้ช่วยรักษารสชาติดั้งเดิมของเต้าฮวย ในฝูเจี้ยนและไต้หวันโดยทั่วไปแล้วเต้าฮวยถูกมองว่าเป็นของหวานโดยเติมถั่วเขียวถั่วแดงและผลไม้ต่าง ๆ หรือเป็นอาหารเช้าที่พบได้ทั่วไป

ในไต้หวันและกวางตุ้ง เต้าฮวยเป็นสัญลักษณ์ของอาหารจีนตอนใต้และมักเป็นส่วนหนึ่งของหยัมฉ่า (อาหารเช้ากึ่งกลางวันโดยการดื่มชาพร้อมกับของว่าง)

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เต้าฮวยเป็นแบบหวาน แม้ว่าเครื่องปรุงรสมีความแตกต่างกันอย่างมาก


ประเทศไทย
เต้าฮวยน้ำขิงใส่ปาท่องโก๋แบบกรอบ
เต้าฮวยน้ำขิงใส่ปาท่องโก๋แบบกรอบ
ในประเทศไทย เต้าฮวยเป็นคำมาจากภาษาฮกเกี้ยน ในปัจจุบันมักพบเต้าฮวยนมสดหรือเต้าฮวยฟรุตสลัดซึ่งเติมนมและฟรุตสลัดเสิร์ฟแบบเย็นได้ทั่วไปมากกว่าเต้าฮวยน้ำขิงซึ่งเป็นแบบดั้งเดิมที่เสิร์ฟเต้าฮวยกับน้ำขิงเชื่อมร้อน


เค็ม
เต้าฮวยแบบเค็ม
ในภาคเหนือของจีนมักปรุงรสด้วยซอสถั่วเหลืองซึ่งได้รสเค็ม แต่มีส่วนผสมอื่นตามแต่ละภูมิภาค ในจีนตอนในมักเติมเนื้อสับ ผักดองเปรี้ยว ผักดองเผ็ด และเห็ด ภูมิภาคชายฝั่งจีนตะวันออกมักเติมสาหร่ายและกุ้งฝอยแห้ง เต้าฮวยแบบเค็มมักเป็นอาหารเช้าที่กินพร้อมไข่ต้มหรือปาท่องโก๋ และมักขายตามร้านข้างทางเล็ก ๆ


เผ็ด
เต้าฮวยแบบเผ็ด
ในเสฉวนและฉ่านซี มักปรุงรสด้วยซอสพริก (หรือน้ำมันพริก) และเครื่องเทศรสหมาล่า โรยหน้าด้วยหอมซอย ขายตามร้านรถเข็นและหาบเร่

วิธีทำ
แช่ถั่วเหลืองก่อนประมาณ 4 ถึง 8 ชั่วโมง หลังจากที่ถั่วเหลืองดูดซับน้ำ (พอง) แล้ว นำไปต้มแล้วกรองกากออก รอให้เย็นลงถึง 80 องศาเซลเซียส แล้วซัดเกลือจืด (ผงยิปซัมแบบกินได้) ปริมาณเล็กน้อย ทิ้งให้ตกตะกอนเป็นเวลา 5 ถึง 15 นาที แล้วระบายน้ำออก

ในวัฒนธรรม
เต้าฮวยไล้เหลี่ยว เป็นภาพยนตร์ไทยตลกแนวกำลังภายในที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2523 สร้างและจัดจำหน่ายโดยสยามสตาร์ โดยมีกำธร ทัพคัลไลย เป็นผู้อำนวยการสร้างและกำกับการแสดง ซึ่งมีนักแสดงนำคือ สมบัติ เมทะนี รับบทเป็นพ่อค้าหาบเร่ขายเต้าฮวย

History of tofu". Soya.be. 2015-11-29. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-21. สืบค้นเมื่อ 2016-10-11.
 "豆花的饮食文化:历史由来". www.weibacanyin.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-06. สืบค้นเมื่อ 2020-12-06.
 รู้จริงเรื่อง “เต้าหู้” เรียกถูกใช้ถูก ไม่อายใคร ทำเมนูไหนก็ลงตัว. Wongnai.com, 1 มิถุนายน 2564. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2565.

Translate

รายการบล็อกของฉัน