ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

ข้าวหมก

ข้าวหมก

ข้าวหมก เป็นอาหารที่เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งในตะวันออกกลางรวมทั้งชาวมุสลิมในประเทศต่างๆ ต้นกำเนิดของข้าวหมกน่าจะอยู่ที่เปอร์เซียโดยได้รับอิทธิพลจากมองโกลที่เข้ายึดครองตะวันออกกลางเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 18 ข้าวหมกของเปอร์เซียมี 2 ชนิดคือ เชโล ใส่แต่หญ้าฝรั่นกับเครื่องเทศหุงกับข้าว และโปโล เป็นการนำเนื้อสัตว์หรือถั่วที่ปรุงรสกับเครื่องเทศมาหมกลงในข้าวที่หุงใกล้จะสุกแล้วเมื่ออินเดียรับวัฒนธรรมการปรุงข้าวหมกไปจากเปอร์เซียได้พัฒนามาเป็นข้าวบิรยานีและข้าวปุเลา 
ส่วนชาวมาเลเซียและอินโดนีเซียปรุงข้าวหมกแบบเดียวกับอินเดีย แต่ไม่ใส่หญ้าฝรั่น ใช้สีเหลืองจากขมิ้นแทน

เมื่อชาวเปอร์เซียมาติดต่อค้าขายกับประเทศไทย ได้นำข้าวหมกมาเผยแพร่ด้วย

ดังมีปรากฏในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน
ของรัชกาลที่ 2 ว่า
"ข้าวหุงปรุงอย่างเทศ รสพิเศษใส่ลูกเอ็น
ใครหุงปรุงไม่เป็น เช่นเชิงมิตรประดิษฐ์ทำ
ซึ่งมีความหมายว่าข้าวหุงปรุงด้วยเครื่องเทศ มีรสพิเศษเพราะใส่ลูกกระวานลงไป ใครก็หุงไม่ได้อย่างที่น้องตั้งใจทำ"
ข้าวหมกแบบเปอร์เซีย-อาหรับที่หุงข้าวกับเครื่องเทศ เมื่อสุกแล้วโรยหอมแดงเจียว ลูกเกดและอัลมอนด์ ซึ่งคล้ายข้าวปุเลาของอินเดียนั้น คนไทยเรียกข้าวมะเขือ ส่วนข้าวหมกที่ใส่ผงขมิ้น สีเหลืองสุกแล้วกินกับเนื้อสัตว์อบ คนไทยเรียกข้าวบูคอรีหรือข้าวบุหรี่ ในปัจจุบัน ข้าวหมกที่คนไทยรู้จักกันดีที่สุดคือข้าวหมกไก่ ซึ่งตรงกับข้าวหมกประเภทบิรยานีของอินเดีย

Translate

รายการบล็อกของฉัน