![]() |
ภาพเหมือนเพียงภาพเดียว ของ อาร์เธอร์ กินเนส
|
แบบนี้ก็มีหรือสัญญาเช่า 9000 ปี
(สัญญาเช่าที่ยาวนานที่สุดในโลก)
(สัญญาเช่าที่ยาวนานที่สุดในโลก)
อาร์เธอร์ กินเนส ผู้ให้กำเนิด "เบียร์ดำ" ของไอร์แลนด์ ทำสัญญาเช่าโรงต้มเบียร์เป็นเวลา 9,000 ปี นับตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 จนกระทั่งปัจจุบัน
อาร์เธอร์ กินเนส เกิดเมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ.1725 ในครอบครัวคนทำเบียร์บนที่ดินของ อาร์เธอร์ ไพรซ์ อาร์คบิชอพแห่งแคชเชล ซึ่งเป็นโบสถ์โปรแตสแตนท์ในไอร์แลนด์ ริชาร์ด กินเนส พ่อของเขาเป็นคนดูแลที่ดินให้อาร์คบิชอพและมีหน้าที่ต้มเบียร์แจกจ่ายให้กับคนงานในที่ดิน ทำให้อาร์เธอร์ได้เรียนรู้ศาสตร์การทำเบียร์มาตั้งแต่เล็ก
เมื่ออาร์คบิชอพถึงแก่กรรมใน ค.ศ.1752 ก็มอบเงินให้แก่อาร์เธอร์และพ่อของเขาคนละ 100 ปอนด์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของบริษัทผลิตเบียร์กินเนสนับแต่นั้นมา
เงิน 100 ปอนด์ในเวลานั้นถือว่าเป็นจำนวนมหาศาล เทียบเท่ากับค่าแรงที่คนงานได้รับถึง 4 ปี
ต่อมาอาร์เธอร์พากเพียรทำเบียร์ให้ดีที่สุดเพื่อส่งเข้าไปขายในร้านเหล้าเล็กๆ ของแม่เลี้ยง และสามปีหลังอาร์คบิชอพเสียชีวิตเขาก็เช่าโรงต้มเบียร์เล็กๆ ในเมืองเล็กซ์ลิป ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑลคิลดาร์ในไอร์แลนด์
ธุรกิจของอาร์เธอร์ไปได้ดี และเมื่อเขาอายุ 34 ปี ก็ย้ายจากเล็กซ์ลิปมาที่ดับลินเมืองหลวงของไอร์แลนด์เพื่อขยายธุรกิจโรงเบียร์
ที่นั่นเขาพบโรงต้มเบียร์เก่าทรุดโทรม ชื่อ โรงต้มเบียร์เซนต์เจมส์เกต ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของดับลิน บนพื้นที่ 4 เอเคอร์ พร้อมอาคารและอุปกรณ์ เช่น หม้อต้ม โรงหมักมอลต์ 2 โรง คอกม้าที่จุได้ถึง 12 ตัว โกดังที่เก็บข้าวบาร์เลย์ได้ถึง 200 ตัน เป็นต้น
เจ้าของโรงต้มเบียร์แห่งนั้นเรียกเงินมัดจำ 100 ปอนด์ และค่าเช่าอีกเดือนละ 45 ปอนด์
วันสุดท้ายของเดือนธันวาคม ค.ศ.1759 อาร์เธอร์ก็แจ้งแก่เจ้าของโรงต้มเบียร์ว่าต้องการเช่าตามจำนวนเงินที่ตกลงกันเป็นเวลา 9,000 ปี
จนทุกวันนี้ เบียร์กินเนสก็ยังคงผลิตที่โรงต้มเบียร์แห่งนั้นอยู่และจ่ายค่าเช่าเดือนละ 45 ปอนด์ไม่เปลี่ยนแปลง
ในเวลานั้น วิสกี้ ยิน และโพทีน (poteen--เหล้าทำจากมันฝรั่ง) เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่แพร่หลายอยู่ในไอร์แลนด์แล้ว แต่อาร์เธอร์ กินเนส มองเห็นช่องทางธุรกิจ ประกอบกับการต้มเบียร์ก็ถือเป็นสิ่งใหม่ในไอร์แลนด์โดยเฉพาะการใช้ข้าวบาร์เลย์ที่อบจนเกือบไหม้ทำให้ได้เบียร์สีเข้ม(คนไทยเรียกว่า เบียร์ดำ)
เงิน 100 ปอนด์ในเวลานั้นถือว่าเป็นจำนวนมหาศาล เทียบเท่ากับค่าแรงที่คนงานได้รับถึง 4 ปี
ต่อมาอาร์เธอร์พากเพียรทำเบียร์ให้ดีที่สุดเพื่อส่งเข้าไปขายในร้านเหล้าเล็กๆ ของแม่เลี้ยง และสามปีหลังอาร์คบิชอพเสียชีวิตเขาก็เช่าโรงต้มเบียร์เล็กๆ ในเมืองเล็กซ์ลิป ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑลคิลดาร์ในไอร์แลนด์
ธุรกิจของอาร์เธอร์ไปได้ดี และเมื่อเขาอายุ 34 ปี ก็ย้ายจากเล็กซ์ลิปมาที่ดับลินเมืองหลวงของไอร์แลนด์เพื่อขยายธุรกิจโรงเบียร์
ที่นั่นเขาพบโรงต้มเบียร์เก่าทรุดโทรม ชื่อ โรงต้มเบียร์เซนต์เจมส์เกต ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของดับลิน บนพื้นที่ 4 เอเคอร์ พร้อมอาคารและอุปกรณ์ เช่น หม้อต้ม โรงหมักมอลต์ 2 โรง คอกม้าที่จุได้ถึง 12 ตัว โกดังที่เก็บข้าวบาร์เลย์ได้ถึง 200 ตัน เป็นต้น
เจ้าของโรงต้มเบียร์แห่งนั้นเรียกเงินมัดจำ 100 ปอนด์ และค่าเช่าอีกเดือนละ 45 ปอนด์
วันสุดท้ายของเดือนธันวาคม ค.ศ.1759 อาร์เธอร์ก็แจ้งแก่เจ้าของโรงต้มเบียร์ว่าต้องการเช่าตามจำนวนเงินที่ตกลงกันเป็นเวลา 9,000 ปี
จนทุกวันนี้ เบียร์กินเนสก็ยังคงผลิตที่โรงต้มเบียร์แห่งนั้นอยู่และจ่ายค่าเช่าเดือนละ 45 ปอนด์ไม่เปลี่ยนแปลง
ในเวลานั้น วิสกี้ ยิน และโพทีน (poteen--เหล้าทำจากมันฝรั่ง) เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่แพร่หลายอยู่ในไอร์แลนด์แล้ว แต่อาร์เธอร์ กินเนส มองเห็นช่องทางธุรกิจ ประกอบกับการต้มเบียร์ก็ถือเป็นสิ่งใหม่ในไอร์แลนด์โดยเฉพาะการใช้ข้าวบาร์เลย์ที่อบจนเกือบไหม้ทำให้ได้เบียร์สีเข้ม(คนไทยเรียกว่า เบียร์ดำ)
![]() |
เบียร์ดำของกินเนส |
เขาเชื่อว่าในทศวรรษ 1750 เครื่องดื่มมึนเมาโดยเฉพาะยิน (gin) ได้ทำลายชนชั้นล่างของไอร์แลนด์ไปแล้ว ขณะเดียวกันก็เชื่ออีกว่าทุกคนควรได้กินเบียร์คุณภาพสูงและเป็นแอลกอฮอล์ที่ดีต่อสุขภาพมากกว่า ทำให้เขาตั้งใจผลิตเบียร์ดำคุณภาพสูงตลอดมา
ต่อมาอาร์เธอร์ก็ปฏิวัติอุตสาหกรรมเบียร์และผลักดันเครื่องดื่มนำเข้าเหล่านั้นออกไปจากตลาดไอริช ขณะเดียวกันเบียร์ของเขาก็เป็นที่ต้องการทั้งในดับลินและในอังกฤษอีกด้วย
ค.ศ.1761 อาร์เธอร์ กินเนส แต่งงานกับ โอลิเวียร์ วิตมอร์ ทั้งคู่มีลูกด้วยกัน 21 คน และต่อมาเขาก็มอบกิจการให้ลูก 3 คนดูแลต่อ แล้วใช้ชีวิตช่วงท้ายที่บ้านเกิดกระทั่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 23 มกราคม ค.ศ.1803 ขณะอายุ 78 ปี
โรงงานเบียร์ของกินเนสยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ค.ศ.1833 โรงต้มเบียร์เซนต์เจมส์เกตของกินเนสกลายเป็นโรงเบียร์ที่ใหญ่ที่สุดในไอร์แลนด์ และใน ค.ศ.1914 ก็กลายเป็นโรงงานเบียร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ต่อมาอาร์เธอร์ก็ปฏิวัติอุตสาหกรรมเบียร์และผลักดันเครื่องดื่มนำเข้าเหล่านั้นออกไปจากตลาดไอริช ขณะเดียวกันเบียร์ของเขาก็เป็นที่ต้องการทั้งในดับลินและในอังกฤษอีกด้วย
ค.ศ.1761 อาร์เธอร์ กินเนส แต่งงานกับ โอลิเวียร์ วิตมอร์ ทั้งคู่มีลูกด้วยกัน 21 คน และต่อมาเขาก็มอบกิจการให้ลูก 3 คนดูแลต่อ แล้วใช้ชีวิตช่วงท้ายที่บ้านเกิดกระทั่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 23 มกราคม ค.ศ.1803 ขณะอายุ 78 ปี
โรงงานเบียร์ของกินเนสยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ค.ศ.1833 โรงต้มเบียร์เซนต์เจมส์เกตของกินเนสกลายเป็นโรงเบียร์ที่ใหญ่ที่สุดในไอร์แลนด์ และใน ค.ศ.1914 ก็กลายเป็นโรงงานเบียร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก