ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

ขนมไทยในพิธีกรรมและงานเทศกาล



ขนมไทยในพิธีกรรมและงานเทศกาล
เทศกาลสงกรานต์
ซึ่งถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย จะใช้ขนมที่เป็นมงคลนาม จัดเป็นขนมชั้นดีสำหรับการทำบุญเลี้ยงพระ และเป็นขนมสำหรับรับรองแขกเหรื่อ ที่มารดน้ำดำหัวขอพรผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ
สมัยโบราณจะกวนกะละแมแต่ปัจจุบันอาจใช้ขนมอื่นๆ ที่อร่อยและสวยงาม เช่น ขนมชั้น ขนมลูกชุบ ตามความสะดวก
เทศกาลเข้าพรรษา(แรม ๑ ค่ำเดือน ๘)
ขนมไทยที่ใช้ได้แก่ ข้าวต้มมัดและขนมแกงบวดต่างๆ เช่น ฟักทองแกงบวด กล้วยบวชชี เป็นต้น

เทศกาลออกพรรษา
  มีพิธีทำบุญตักบาตรเทโว ขนมที่ใช้ในการทำบุญ คือข้าวต้มลูกโยน
สารทไทย
เป็นงานประเพณีที่ชาวไทยทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติมิตรผู้ล่วงลับ จะมีขนมไทยประจำภาค อาทิ
- ภาคเหนือ กล้วยตาก เพราะมีกล้วยมาก นอกจากตากก็มีกวนและของแช่อิ่ม
- ภาคกลาง กระยาสารท เคียงคู่กับกล้วยไข่
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า งานบุญข้าวจี่ ขนมที่ใช้ได้แก่ ขนมเทียน ข้าวจี่
- ภาคใต้ เรียกว่างานบุญเดือนสิบ ขนมที่ใช้ได้แก่ ขนมลา ขนมกง ขนมพอง

ขนมไทยที่นิยมใช้ทำบุญเลี้ยงพระ
ในงานมงคลหรือพิธีกรรมที่ขาดไม่ได้ ได้แก่
ขนมตระกูลทอง เช่น
- ทองเอก
- ทองหยิบ
- ทองหยอด
- ฝอยทอง
- ขนมมงคลนาม เช่น ขนมถ้วยฟู ขนมชั้น ขนมจ่ามงกุฎ ขนมเสน่ห์จันทร์


ขนมไทยสำหรับพิธีแต่งงาน
นอกจากขนมมงคลนามที่ใช้ในงานมงคลแล้ว ยังต้องมี คือ
- ขนมกง รูปร่างเป็นล้อรถไม่มีรอยต่อ มีความเชื่อว่าจะทำให้ความรักของคู่บ่าวสาวจีรัง ไม่มีวันแยกจากกัน
- ขนมโพรงแสม มีรูปร่างยาวใหญ่คล้ายกับเสาเรือน ทำให้อยู่กันยืนยาว
- ขนมสามเกลอ มีลักษณะเป็นสามก้อนติดกัน ให้คู้บ่าวสาวเสี่ยงทายว่าจะอยู่ด้วยกันได้นานหรือไม่ หากขนมแยกจากกันก็ถือว่าไม่ใช่เนื้อคู่ที่แท้จริง นอกจากนี้ยังมี
- ขนมใส่ไส้
- ขนมฝักบัว
- ขนมบ้าบิ่น
- ขนมนมสาว

พิธีบวงสรวงสังเวยเทพยดาและพระภูมิ ขนมที่นิยมใช้สำหรับพิธีบวงสรวงสังเวยเทพยดาและพระภูมิ นอกจากขนมเป็นมงคลนามแล้ว ก็มีขนมตามความเชื่อ ในลัทธิพราหมณ์ ดังนี้
- ขนมต้มแดง
- ขนมต้มขาว
- ขนมเล็บมือนาง
- ขนมคันหลาว
- ขนมดอกจอก
- ขนมทองหยิบ
- ขนมถั่วแปบ
- ขนมหูช้าง
- ข้าวเหนียวแดง
- ขนมประเภทบวชต่างๆ

Translate

รายการบล็อกของฉัน