ความเป็นมาของแกงเขียวหวานทำไมถึงเรียกว่าแกงเขียวหวาน


ความเป็นมาของแกงเขียวหวานทำไมถึงเรียกว่าแกงเขียวหวาน


ถ้าเอ่ยถึงแกงเขียวหวานหลายๆคนคงจะเคยได้ลองลิ้นชิมรสแกงเขียวหวานที่มีกลิ่นหอมของเครื่องแกงยั่วให้เจริญอาหารและกินอาหารได้เพิ่มขึ้นแกงเขียวหวานต่างจากแกงเผ็ด สีของแกงซึ่งได้จากพริกสีเขียว ส่วนคำว่า หวาน ในที่นี้สื่อถึงลักษณะความเขียวของแกง ไม่ใช่รสชาติของแกง 

เราเข้ามาดูรายละเอียดของบทความนี้เลยดีกว่านะครับ

แกงเขียวหวาน

แกงเขียวหวาน เป็นอาหารไทยประเภทแกง ประกอบด้วยเนื้อ ปลา ไก่ หรือหมู และผัก ปรุงรสด้วยกะทิ มะเขือ น้ำตาล น้ำปลา ใบมะกรูด และใบโหระพา นิยมรับประทานกับข้าวสวยหรือขนมจีนน้ำพริกแกงมีสีเขียวเพราะใช้พริกขี้หนูสดสีเขียว บางท้องที่ใส่ใบพริกลงไปตำด้วย ในประเทศกัมพูชามีการรับแกงเขียวหวานไป เรียกว่า ซ็อมลอกะติ โดยมีลักษณะเป็นน้ำกะทิใส ๆ

แกงเขียวหวาน

แกงเขียวหวานเสิร์ฟพร้อมโรตี
ประเภทเครื่องแกง
มื้ออาหารหลัก
แหล่งกำเนิดประเทศไทย
อุณหภูมิเสิร์ฟ ร้อน
ส่วนผสมหลัก
กะทิ, พริกแกงเขียว, น้ำตาลปี๊บ, น้ำปลา, ใบมะกรูด, โหระพา เนื้อสัตว์

คำว่า เขียว มาจากสีของแกงซึ่งได้จากพริกสีเขียว ส่วนคำว่า หวาน ในที่นี้สื่อถึงลักษณะความเขียวของแกง ไม่ใช่รสชาติของแกง เพราะแกงไทยชนิดนี้ทำมาจากกะทิและพริกสีเขียว สีของน้ำแกงที่ออกมาจึงเป็นสีเขียวอ่อนสดใส หรือ "เขียวหวาน"


แกงเขียวหวานไม่มีส่วนผสมตายตัว และไม่ได้มีความหวานมากกว่าแกงไทยอื่น ๆ เสมอไป แต่มักมีความเผ็ดร้อนกว่าแกงแดง[4] แกงนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นใน
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวหรือพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในช่วง พ.ศ. 2451–2469

การเสิร์ฟ
โดยทั่วไปมักกินแกงเขียวหวานเป็นกับข้าวร่วมกับอาหารชนิดอื่น ๆ ในมื้อหนึ่ง ๆ หรือกินกับขนมจีนเป็นอาหารจานเดียว

ส่วนผสมของพริกแกงเขียวหวาน
 

พริกแกงเขียวหวานที่ตำเสร็จใหม่ ๆ

แกงเขียวหวานตีนไก่ เสิร์ฟพร้อมขนมจีน

ข้าวผัดแกงเขียวหวาน

แกงเขียวหวานเนื้อ