บก-ลฮง หรือส้มตำเขมร แต่เขมรบอกว่าส้มตำไทยลอกเลียนแบบและได้รับอิทธิพลมาจากส้มตำเขมรที่ชื่อว่า บก-ลฮง


บก-ลฮง หรือส้มตำเขมร แต่เขมรบอกว่าส้มตำไทยลอกเลียนแบบและได้รับอิทธิพลมาจากส้มตำเขมรที่ชื่อว่า บก-ลฮง

บก-ลฮง ส้มตำเขมร กลับเป็นอาหารเขมรได้รับอิทธิพลมาจากส้มตำของประเทศไทย 

แต่คนเขมรก็บอกว่าไทยได้รับอิทธิพล บก-ลฮง ส้มตำเขมร และ จากตำหมากหุ่งของประเทศลาว สรุปแล้วส้มตำไทยได้รับอิทธิพลจากส้มตำเขมร บก-ลฮงหรือว่า ส้มตำลาวตำหมากหุ่ง อย่างไรกันแน่ยังเป็นข้อถกเถียงกันไม่จบสิ้นว่าไทยไปลอกเลียนแบบส้มตำเขมรหรือว่าส้มตำลาว

บก-ลฮง (เขมร: បុកល្ហុង, บุกลฺหุง; แปลว่า ตำมะละกอ) ภาษาเขมรถิ่นไทยเรียก โบะลฮ็อง หรือ เบาะลฮ็อง บ้างเรียก ส้มตำเขมร เป็นอาหารเป็นยำหรือสลัดรูปแบบหนึ่งของประเทศกัมพูชา 

มีลักษณะคล้ายกับส้มตำของประเทศไทย และตำหมากหุ่งของประเทศลาว แต่บก-ลฮงมีรสชาติอ่อนเผ็ด ออกรสหวานกว่าส้มตำ แต่หวานน้อยกว่าส้มตำแบบเวียดนาม

ชาวเขมรโดยมากใช้ตะเกียบในการรับประทานบก-ลฮง


บก-ลฮง
ชื่ออื่นส้มตำเขมร
มื้ออาหารจานเดียว
แหล่งกำเนิด
ประเทศกัมพูชา
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ส่วนผสมหลัก
มะละกอ, ปรอฮก, กะปิ
ตำราอาหาร: บก-ลฮง
สื่อ: บก-ลฮง

ดินแดนกัมพูชาเป็นชาติที่ได้รับมะละกอ หรือ ลฮง จากชาวสเปนบนหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ก่อนเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 21 ผ่านอาณาจักรล้านช้างจัมปาศักดิ์ซึ่งมีความเกี่ยวดองกับราชวงศ์เขมรผ่านการเสกสมรส และเป็นที่มาของคำว่า บักหุ่ง หรือ หมากหุ่ง ในภาษาลาวและภาษาอีสาน


แต่กระนั้น บก-ลฮง กลับเป็นอาหารเขมรได้รับอิทธิพลมาจากส้มตำของประเทศไทย บ้างก็บอกว่าไทยได้รับอิทธิพล บก-ลฮง ส้มตำเขมร และ จากตำหมากหุ่งของประเทศลาว

ส่วนประกอบของบก-ลฮง ประกอบด้วย มะละกอดิบสับ กระเทียม พริกขี้หนู กุ้งแห้ง ปูเค็ม ถั่วเขียว มะเขือเทศ โขลกลงในครกด้วยไม้ตีพริก แล้วใส่ด้วยใบโหระพา ผักชีใบยาว ใบมะกรูด ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว น้ำปลา โรยหน้าด้วยถั่วลิสง 


ใส่ปลากรอบเพื่อเพิ่มความหอมบ้างนิยมใส่ใบแมงลักแทนโหระพา บางสูตรอาจใส่กะปิต่างน้ำปลาหรือนำเข้าปลาร้าแบบไทยไปใช้

 ปัจจุบันบก-ลฮง ได้รับอิทธิพลด้านรสชาติจากส้มตำในประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้พริกที่มากขึ้น ซึ่งต่างออกไปจากขนบการทำอาหารเขมรดั้งเดิม มีชาวเขมรเปิดร้านบก-ลฮง และยำแบบไทย ซึ่งมีรสชาติจัดจ้านและเป็นที่นิยมกว่าแบบเขมรแต่เดิม

 ส่วนชาวไทยเชื้อสายเขมร ในแถบอีสานใต้ จะเรียกว่า โบ๊ะลฮอง ซึ่งมีรสชาติเผ็ดจัดจ้าน

สัมตำไทย

ในประเทศไทย มีส้มตำเขมรอยู่ในสำรับอาหารของสกุลอภัยวงศ์ ซึ่งเป็นผู้สืบสันดานของขุนนางเขมรในเมืองพระตะบอง เรียกว่า ส้มตำมะระขี้นก ใส่ปลากรอบ มะระขี้นกฝานบาง มะเขือขื่น มะสัง ใบกะออม

ส่มตำลาว

โดยจะใส่ปลาร้าเขมรที่ย่างไฟอ่อน ๆ จนหอม และต้องตำมะระขี้นกให้นุ่ม เพื่อทำให้ความขมของมะระลดลง รวมทั้งใส่มะสังเพื่อให้รสเปรี้ยวแทนมะนาว