ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

ที่มาของลอดช่องสิงคโปร์


ทำไมเรียก"ลอดช่องสิงคโปร์" เกี่ยวอะไรกับประเทศสิงคโปร์

ทุกสิ่งทุกอย่างมันมีประวัติศาสตร์และความเป็นไปเป็นมาของตัวมันเองนะครับเหมือนกับขนมลอดช่องสิงคโปร์ที่ใครบางคนได้กินแล้วก็รู้สึกว่าอร่อยถูกปากถูกใจหวานมันชุ่มคอ แต่หารู้ไหมว่ามันมีประวัติศาสตร์ยาวนาน และ มีที่ไป ที่มาน่าสนใจมากครับ..มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า

ลอดช่อง คือ ขนมพื้นบ้านที่ใช้แป้งข้าวเจ้าเป็นวัตถุดิบ เป็นที่นิยมแพร่หลายในไทยชนิดหนึ่ง มีจุดกำเนิดร่วมในทั่วทั้ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เชื่อกันว่ามีต้นกำเนิดมาจากประเทศ อินโดนีเซีย โดยอินโดนีเซีย มาเลเซีย เรียกว่า เจ็นดล (cendol; 珍多冰; Zhēn duō bīng; เจิน โตว ปิง) อีกทั้งแพร่หลายในพม่า (เรียกว่า မုန့်လက်ဆောင်း; Mont let saung) เวียดนาม และสิงคโปร์

ดาเวต ที่ขายในตลาดที่มาลัง ชวาตะวันออก ประมาณ พ.ศ. 2478 ในประเทศไทย ลอดช่อง บางทีเรียกว่า ลอดช่องสิงคโปร์ มีที่มาจากชื่อร้านสิงคโปร์โภชนาที่เยาวราช กรุงเทพฯ
ใครจะรู้บ้างว่า คำว่า ลอดช่องสิงคโปร์นั้น แท้จริงแล้วต้นกำเนิดไม่ได้มาจากประเทศสิงคโปร์ แต่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยเรานี่เอง ที่ได้นำแป้งมันสำปะหลังมาปั้น และนวดให้เหนียว รับประทานกับกะทิสด และน้ำเชื่อม น้ำแข็งป่น ก็เพิ่มความสดชื่นให้กับผู้บริโภคได้แล้ว แต่หลายคนคงสงสัยว่าแล้วคำว่า สิงคโปร์ล่ะ มาจากไหน ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกกันจนติดปาก ถึงบริเวณที่ตั้งร้านนี้ ที่เป็นเจ้าแรก ในการทำ “ลอดช่องสิงคโปร์” นั่นเอง


เพราะหากย้อนไปเมื่อประมาณ 60 ปีก่อน ร้านนี้บังเอิญไปตั้งอยู่บริเวณ หน้าโรงภาพยนตร์สิงคโปร์ (เดิม) หรือโรงหนังเฉลิมบุรี บนถนนเยาวราช และเมื่อลูกค้าจะไปทาน ก็มักจะเรียกว่า “ไปทานลอดช่องหน้าโรงหนังสิงคโปร์” สุดท้ายก็เรียกให้สั้นลงว่า “ลอดช่องสิงคโปร์” แทน

ส่งผลให้ร้าน “สิงคโปร์โภชนา” เป็นร้านต้นกำเนิดลอดช่องสิงคโปร์ ที่เรียกกันติดปากมาจนถึงปัจจุบัน โดยนายณรงค์ จักรธีรังกูร เจ้าของร้านสิงคโปร์โภชนา ได้ย้อนอดีตให้ฟังว่า ธุรกิจกิจนี้เป็นของผู้เป็นพ่อ

โดยได้รับการถ่ายทอดสูตรมาจากเพื่อนอีกทีหนึ่ง ซึ่งรวมระยะเวลาที่ร้านลอดช่องสิงคโปร์เปิดบริการให้ลูกค้าได้ลิ้มลองก็ประมาณกว่า 60 ปี
โดยตั้งที่บริเวณแยกหมอมี ตรงข้ามธนาคาร UOB ถ.เจริญกรุง ซึ่งแต่เดิมเป็นโรงหนังสิงคโปร์ จนกระทั่งถูกรื้อทิ้ง สร้างใหม่เป็นโรงหนังเฉลิมบุรี
ร้านลอดช่องสิงคโปร์ โภชนานั้น ปัจจุบันได้กลายเป็นตำนานบนถนนเยาวราช เพราะไม่เพียงแต่ความเก่าแก่ที่ครองใจผู้บริโภคมานานกว่า 60 ปีแล้ว ร้านนี้ยังถูกทางสำนักงานเขตสัมพันธ์วงศ์ ได้ขอให้คงอยู่ไว้ เพราะถือว่าร้านนี้กลายเป็นตำนานและเป็นส่วนหนึ่งของเยาวราชที่ขาดไม่ได้
 

ข้อมูลเพิ่มเติม
ในอินโดนีเซียเชื่อว่า เชนดอลมีความเกี่ยวข้องกับคำ jendol ในภาษาชวา ภาษาซุนดาและภาษาอินโดนีเซีย หมายถึง โหนก หรือ โป่ง ซึ่งมีความหมายโดยนัยหมายถึงเยลลี่ที่มีรูปร่างคล้ายตัวหนอน ในเวียดนาม เรียกว่า bánh lọt, " ซึ่งเป็นส่วนผสมของขนมที่ชื่อ chè หรือ chè ba màu

ส่วนผสม ส่วนผสมทั่วไปของลอดช่องสิงคโปร์คือกะทิ แป้งปั้นเป็นรูปแท่งใส่สีเขียว โดยปกติมาจากใบเตย น้ำแข็งปั่นและน้ำตาลมะพร้าว ส่วนผสมเพิ่มอื่นๆได้แก่ ถั่วแดง ข้าวเหนียว เฉาก๊วย ในซุนดา ลอดช่องสิงคโปร์เป็นขนมทำจากแป้งหรือสาคูปั้นเป็นแท่ง กินกับกะทิและน้ำเชื่อมจากน้ำตาลของต้นหมาก ไม่ใส่น้ำแข็ง ในภาษาชวา เชนดอล หมายถึงส่วนที่เป็นแป้งสีเขียวเท่านั้น ถ้านำเชนดอลมารวมกับน้ำตาลมะพร้าว และกะทิจะเรียกดาเวต ดาเวตที่นิยมมากที่สุดคือ เอส ดาเวตในชวากลาง 


ด้วยอิทธิพลจากสิงคโปร์ และอาหารตะวันตก ทำให้มีลอดช่องสิงคโปร์รูปแบบแปลกๆ เช่น กินกับไอศกรีมวานิลลาหรือทุเรียน
การจำหน่าย เชนดอลเป็นขนมที่นิยมทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนิยมขายทั้งในศูนย์อาหาร ข้างถนนและที่อื่นๆ ลอดช่องสิงคโปร์หรือดาเวตดั้งเดิมไม่กินกับน้ำแข็ง แต่เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาทำให้มีเซนดอลเย็นกินกับน้ำแข็ง (เอส เซอรัต) เป็นไปได้ว่าในแต่ละประเทศมีสูตรเฉพาะของตนเอง 

โดยเฉพาะเมืองเก่าของมาเลเซีย เช่น มะละกา ปีนัง และกัวลาลัมเปอร์

Translate

รายการบล็อกของฉัน